แก้ไขงานเรื่อง CPU

 CPU รุ่นต่าง ๆ ที่มีใช้งานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


เริ่มจากยุคแรก ๆ สมัยที่มีคอมพิวเตอร์ใช้กันเลยอันนี้ก็เป็นการพัฒนาของ Intel

1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข

1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal

1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ

1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง

1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว

1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้

1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัว

1993 : Pentium Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium

1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station

1997 : Pentium II Processor ปัจจุบันยังพอมีคนใช้งานอยู่บ้าง

1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station

1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก

1999 : Pentium III Processor เป็นที่นิยมกันมากในช่วงนั้น

1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station

2001 : Pentium 4 Processor ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

ในยุคของ 80486 และ Pentium ส่วนของ AMD ก็เริ่มออก CPU มาบ้างแล้วเท่าที่เคยได้ยินมาบ้างก็มีดังนี้ X86, AM186, AM386, AM486 แต่รุ่นที่เริ่มพอจะเคยได้ยินมาก็จะเริ่มที่ 5x86, K5, K6, K6-II, K6-III, Duron, Athlon และ Thunderbird หรือตระกูล XP

ยุดกลาง ๆ ก็ยังมี Cyrix อีกยี่ห้อหนึ่ง เริ่มจากไหนไม่แน่ใจ แต่ที่เคยได้ยินก็จะเป็น 6x86, 6x86MX และ Cyrix MII ซึ่งปัจจุบันนี้ยังพอเห็นมีขายอยู่บ้าง


CPU i7

    คือ CPU ระดับ Hi-end จาก Intel เป็น CPU แบบ 4 Core มีระบบ Hyper Thread โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 8 Threads มาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผลที่สูง พร้อมด้วยเทคโนโลยี Intel Turbo Boost ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพความเร็วของซีพียูทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม คุณจึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาคอมพิวเตอร์ค้าง รอนานอีกต่อไป และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 4600

CPU i5

    คือ CPU ระดับ รอง 2 จาก Hi-end ของบริษัท Intel เป็น CPU แบบ 4 Core ไม่มีระบบ Hyper Thread แบ่งการทำงานออกเป็น 4 Threads มาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผลที่สูง พร้อมด้วยเทคโนโลยี Intel Turbo Boost ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพความเร็วของซีพียูทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม คุณจึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาคอมพิวเตอร์ค้าง รอนานอีกต่อไป และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 4600 ความเร็วตั้งแต่ 350 MHz ไปจนถึง 1.25 GHz และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 4600

CPU i3

    คือ CPU ระดับ รอง 3 จาก Hi-end ของบริษัท เป็น CPU แบบ 2 Core  มีระบบ Hyper Thread โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 Threads มาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผลที่สูง และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 4600

CPU Pentium-G

    คือ CPU ระดับ Mid-end จาก Intel ในรุ่น Pentium® เป็น CPU แบบ 2 Core ที่ไม่มีระบบ Hyper Thread แบ่งการทำงานออกเป็น 2 Threads และมีระบบประมวลผลกราฟฟิกลดลงเหลือแค่ Intel HD Graphics เท่านั้น


ถ้าเทียบกับการทำงานของคนก็คือ


CPU i7 ก็คือการทำงานของคน ระดับด๊อกเตอร์ 4 คน ที่มีด๊อกเตอร์เป็น ผู้ช่วยอยู่ด้วย เหมือนกับ เป็นการทำงานของคนระดับต๊อกเตอร์ 8 คน

CPU i5 ก็คือการทำงานของคน ระดับด๊อกเตอร์ 4 คน ที่มีไม่มีผู้ช่วยอยู่ด้วย เหมือนกับ เป็นการทำงานของคนระดับต๊อกเตอร์ 4 คน

CPU i3 ก็คือการทำงานของคน ระดับด๊อกเตอร์แค่ 2 คน ที่ไม่มีผู้ช่วยอยู่ด้วย เหมือนกับ เป็นการทำงานของคนระดับต๊อกเตอร์ 2 คน

CPU Pentium-G นั้น ก็คือการทำงานของคน ระดับ ป.โท 2 คน ที่ไม่มีผู้ช่วยอยู่ด้วย เหมือนกับ เป็นการทำงานของคนระดับ ป.โท 2 คน เท่านั้น

CPU Celeron-G นั้น ก็คือการทำงานของคน ระดับ ป.ตรี 2 คน ที่ไม่มีผู้ช่วยอยู่ด้วย เหมือนกับ เป็นการทำงานของคนระดับ ป.ตรี แค่ 2 คน เท่านั้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิวัฒนาการของ CPU

บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง